![]() ![]() |
เมืองเชลียงยังคงเหลือสิ่งก่อสร้างที่น่าเยี่ยมชมหลายแห่งเช่นบริเวณที่อยู่ปลาย คุ้งน้ำคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ถัดมาเป็นวัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์และ วัดน้อยจำปี ซึ่งสร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบ ศิลปเขมรในพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองนี้พัฒนาต่อมาด้วยการขยายอาณาบริเวณสร้างเป็นเมืองใหม่ ในบริเวณ ใกล้แก่งหลวง คือ เมืองศรีสัชนาลัยนั่นเอง ชื่อ "ศรีสัชนาลัย" นี้มาจากชื่อ "ฤาษีสัชนาลัย"ซึ่งพงศาวดารเหนือกล่าวว่าเป็นผู้แนะนำให้บาธรรมราชสร้าง เมืองนี้ขึ้น โดยให้ใช้เขาพนมเพลิงที่อยู่ภายในเมืองเพื่อเป็นศาสนสถาน สำหรับการบูชาไฟ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงเมืองศรีสัชนาลัยว่าเป็นเมือง คู่กับสุโขทัยโดยเรียกรวมๆ กันว่า "ศรีสัชนาลัยสุโขทัย" ดังนั้นจึงเป็นเมือง สำคัญประหนึ่งเมืองหลวงของอาณาจักรคู่กับเมืองสุโขทัย |
![]() |
ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศรีสัชนาลัยได้ถูกลดฐานะลงเป็นเมืองลูกหลวงมีโอรสกษัตริย์ปกครอง ในพุทธศตวรรษที่ 20 กรุงสุโขทัยตกอยู่ใต้
อำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ซื่อศรีสัชนาลัยไม่ปรากฏในพงศาวดารของอยุธยา มีแต่ชื่อ เมืองเชลียง บอกในฐานะเป็นเมืองพญา
มหานคร และต่อมาปรากฏชื่อ "เมืองสวรรคโลก" ในปี พ.ศ.2099 เรียกกันต่อมาตลอดสมัยอยุธยา
ในการศึกสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยา ล้านนา และพม่า
ศรีสัชนาลัยเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินทัพของคู่สงคราม
บางครั้งผู้คนอพยพหนี
ภัยสงครามทิ้งเมืองให้ร้าง
บางครั้งผู้ครองเมืองกระด้างกระเดื่องทำให้ เกิดการสู้รบปราบปรามเช่น
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(พ.ศ.2127)
เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยแข็งเมือง
พระนเรศวรทรงยกทัพหักเอาเมืองไว้ได้
แล้วอพยพผู้คนไปยังเมืองพิษณุโลกปล่อยเมืองนี้ให้ร้าง
ครั้นเมื่อสงคราม
เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ.2310
เมืองศรีสัชนาลัยถูกทิ้งล้างเช่นเดียวกับอีกหลายเมือง
จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เมื่อทรงมีชัยชนะต่อศึกพม่าในปี พ.ศ.2328 ทรงเห็นว่า
เมืองสวรรคโลกซึ่งตั้งอยู่ที่ศรีสัชนาลัยทรุดโทรมมาก
จึงโปรดให้ตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลวังไม้ขอน
ซึ่งก็คืออำเภอสวรรคโลกปัจจุบัน
ส่วนอำเภอศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยว
เมื่อออกจากตัวเมืองศรีสัชนาลัยหรือขึ้นไปบนยอดเขาสุวรรณคีรี
จะมองเห็นศาสนสถาน อีกมากมายกระจายอยู่ตามแนวเขาทางด้านตะวันตก ล้วนเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัด อรัญวาสีฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งต่างจากวัดภายในตัวเมืองที่เป็นฝ่ายคามวาสี หรือคันถธุระ วัดวาอารามทั้งในและนอกเมืองเหล่านี้
แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมศิลปกรรม พุทธศิลป์ในศรีสัชนาลัยยังแสดงให้เห็นการผสมผสานคตินิยมท้องถิ่นกับคตินิยมของ |
ศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งที่มีสิ่งก่อสร้างสมัยสุโขทัยและอยุธยาแห่งหนึ่งในบรรดาไม่กี่แห่งของประเทศที่ยังเหลือให้เห็นมากพอที่จะจินตนาการ
ถึงความรุ่งเรืองในอดีตที่บรรพชนไทยได้สร้างสมไว้
Information of Sukhothai Thailand 2000 Copyright.
All right.
Reserved
Create by : Surat Khewnga ICQ:86559423