พืชสมุนไพรในท้องถิ่น
พืชสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ชาวสุโขทัยได้อาศัยสมุนไพรแหล่งนี้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่โบราณกาล พืชสมุนไพรกว่า ๒๐๐ ชนิด เช่น สลัดได แก่นมีกลิ่นหอมใช้แก้ไข้ ยางใช้เป็นยากัดหูด ทำให้ยางสุกด้วยการนึ่งตากแห้งใช้เป็นยาถ่าย กระแจะ กิ่งอ่อนบดละเอียดผสมทำธูปหรือแป้ง มีกลิ่นหอม ใบแก้ลมบ้าหมู รากเป็นยาถ่าย ขิงแกลง เหง้าแก่สดหรือแห้งเป็นยาขับลม แก้อาเจียน ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ โดยการชงน้ำดื่ม เจตมูลเพลิงแดง รากแห้ง ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ โรคริดสีดวงทวาร หญ้ายายเถา ต้นใบ ผสมยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย รากต้นเหง้าต้มน้ำดื่มแก้เจ็บคอ ไพลดำ หัวฝนทาแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา ขับประจำเดือน หัวสดคั้นเอาน้ำผสมเกลือเป็นยาระบาย แก้งขี้พระร่วง แก้โรคผิวหนัง ฟ้าทลายโจร ใบ ทั้งต้น แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ เป็นยาเจริญอาหาร ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นยาลูกกลอน มหากาฬ รากแก้ไข้ รากและใบสดตำพอกแก้ปวดบวม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน สังกรณี ทั้งต้นต้มน้ำดื่มบำรุงกำลัง รากผสมสมุนไพรตำรับที่ ๕ ต้นน้ำดื่มเป็นยาร้อนขับน้ำคาวปลา ว่านกีบแรด หัวเป็นยาฝากสมานแก้ท้องร่วงอาเจียน ปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ รากห้ามเลือด หนุมานประสานกาย ใบสดแก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ใช้ตำพอกแผลห้ามเลือดสมานแผล ตระไคร้ ทั้งต้นมีน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นยาขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด เป็นยาขับปัสสาวะ ตระไคร้หอม เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว สบู่ดำ หัวดองเหล้ารับประทานบำรุงกำลัง ตากแห้งบดปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานเป็นยาอายยุวัฒนะ โด่ไม่รู้ล้ม ใบต้มน้ำดื่มขับพยาธิไส้เดือน ใบรากเป็นยาคุมกำเนิด อบเชย เปลือกต้นปรุงผสมเป็นยาหอม และยานัตถุ์ แก้อ่อนเพลีย จุกเสียด แน่นท้อง ต่างใบ ใบอังไฟนาบที่ข้องบรรเทาอาการปวดบวมบริเวณข้อ บัวสันโดด หัวสดรับประทานแก้โรคหัวใจ ช้างผสมโขลง หัวต้มดื่มบำรุงกำลัง โสม ต้มน้ำดื่มหรือแช่เหล้า บำรุงกำลัง ธรณีเย็น ทั้งต้น ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ลิ้นโสม ทั้งต้น กินสด ฟอกเลือด เจริญอาหาร พญาลำแพน ทั้งต้น แก้ฝีในท้องหรือมะเร็ง ดาวดึง หัวใช้แก้ข้ออักเสบ เจ็บข้อ หางไหลแดง รากแก้เหาและเลือด ฆ่าแมลง เบื่อปลา โดยนำรากทุบแช่น้ำ ทองพันชั่ง ใบสดและรากโขลกละเอียดแช่เหล้า เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน ขอบพระนาง ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแระจำเดือน ยาภายนอกตำพอก ผี และแก้ปวดอักเสบ โคลงเคลงขน (เอนอ้า) ต้น ราก ต้มกับข้าวสารเจ้า แก้คอพอก รากแก้ร้อนในกระหายน้ำ บัวบก ใบสดต้มน้ำดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนในกระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย บอระเพ็ด เถาแก้ไข้ ขับเหงื่อ กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยการต้ม กระวาน ผลใช้เป็นยาขับลม ท้องอืด เฟ้อจุกเสียด ชงน้ำดื่มและเป็นเครื่องเทศ ว่านนกคุ้ม ทั้งต้นต้มน้ำดื่มบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย รากฝนน้ำปูนใสทาแก้ฝี ขิงแห้ง ใช้หัวขับลมในกระเพาะ รากแดง เถา ต้มน้ำดื่ม ชูกำลัง (บำรุงกำลัง) เต่าร้างแดง รากต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มะขามป้อม เนื้อผลแห้งหรือสดขับเสมหะ ผลแห้งต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ มะกล่ำ ต้นต้มกินแก้ปวดข้อ บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง และบิด ฯลฯ ด้านการรักษาโรค คนไทยรู้การักษาโรคภัยไข้เจ็บมาตั้งแต่สมัยโบราณ ภูมิปัญญาด้านนี้มีมากและเด่นชัด มีวิธีการรักษาโรคด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการรักษาด้วยน้ำมันมนต์ น้ำมนต์ บีบนวด และที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือการรักษาโรคด้วยสมุนไพร วิธีปรุงยาแบบแพทย์โบราณหรือหมอพื้นบ้าน ในจังหวัดสุโขทัยยังคงมีแพทย์แผนโบราณหรือหมอพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพชนเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพรในท้องถิ่น วิธีปรุงยาแบบแพทย์แผนโบราณ หมอบุญธรรม พัฒนเจริญ หมอพื้นบ้านและยากลางบ้าน กล่าวได้ดังนี้ ๑. รวมตำหรือบดเป็นผงละเอียด แล้วใช้น้ำกระสายปั้นเป็นลูกกลอนทั้งเปียก ๆ หรือทำเป็นเม็ดแท่งตากให้แห้ไว้ บดละเอียดเมื่อต้องการ หรือทำเป็นผงร่อนกรองเก็บไว้ โดยไม่ต้องทำเป็นเม็ดหรือแท่ง ๒. ถากหรือสับเป็นฐาน ๆ แล้วบรรจุลงหม้อต้ม รินแต่น้ำกินหรืออม ๓. ดองหรือแช่ หรือหมักไว้ในน้ำสุกหรือสุรา จนครบกำหนดรินแต่น้ำกิน ๔. เผาให้ไหม้เป็นถ่ายหรือทำเป็นด่าง แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ รินแต่น้ำใสกิน ๕. เผาหรือคั่วให้ไหม้ แล้วบดเป็นผงละเอียดละลาย ทิ้งไว้นาน ๆ แล้วรินน้ำกิน ๖. ประสมเครื่องยารวมลงในภาชนะ แล้วต้มหรือกลั่นเอาแต่เหงื่อกิน เช่นเดียวกับต้มกลั่นสุรา หมอพื้นบ้านและความรู้เรื่องการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร นายโดย เณรเอี่ยม ประวัติ เกิดวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๖๓ ที่บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย บิดาชื่อนายโหง มารดาชื่อนางทอง การศึกษาจบชั้น ป.๒ ปัจจุบันประกอบอาชีพทำนา และเป็นหมอประจำตำบลของตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ความรู้เรื่องการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร มะเล็งลำไส้-ปากมดลูก หนอนตายอยาก รากนมแมว หัวพุทธรักษา ยาข้าวเย็นทั้งสอง อายุวัฒนะ แห้วหมู พริกไทย เหงือกปลาหมอ ตำผงละลายน้ำผึ้ง มะเร็งเต้านม-ภายในมดลูก มะเดื่อดี มะเดื่อชุมพร มะเดื่อปล่อง ชุมเห็ดไทย แก่นมะเกลือ กระดูกงูเห่า ยาข้าวเย็นทั้งสอง ยาบำรุงกำลัง หัวแห้งหมูตำผง ๑ กระป๋อง พริกไทยผง ๑ กระป๋อง น้ำผึ้ง ๑ กระป๋อง นมโค ๑ กระป๋อง หัวกะทิ ๑ กระป๋อง นำมาผสมแล้วกวน ยาอายุวัฒนะไม่เมื่อย ไม่ปวด เปลือกกระทุ่มขี้หนู พริกไทย ยาข้าวเย็น บำรุงเลือดให้เติมสารส้ม ยาแก้โรคกระเพาะ นำตะไคร้ จำนวนเท่าอายุคนป่วยบดให้เป็นผง ละลายกับน้ำร้อนรับประทานครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ยาแก้โรคช้ำใน น้ำใบบัวบก ๒ กำมือ โขลกให้แหลกใส่น้ำ ๒ แก้ว น้ำตาลทรายแดงผสม คั้นเอาน้ำดื่ม ครั้งละค่อนแก้วทุก ๔ ชั่วโมง ยาแก้ความดันโลหิตสูง นำใบเตยหอม ๑๓ ใบ (ใบแก่ ๆ) ต้มดื่มต่างน้ำร้อนตลอดวัน ดื่มไปเรื่อย ๆ ความดันจะลด ยาแก้ไข้ทับระดู นำต้นหญ้าไคยรายทั้ง ๕ จั่นมะพร้าวสด ๆ กำมือ (เอาแก่ ๆ) ต้มใส่น้ำสัก ๕-๖ แก้ว กินทุก ๔ ทั่วโมง ครั้งละ ๑ แก้ว ยาแก้ลมพิษ นำใบยอดตำลึง ๑ กำมือใหญ่ ๆ โขลกผสมกับสุราขาว แล้วเอาน้ำยาทาให้ทั่วบริเวณที่เป็น ยาแก้บิดขนานที่ ๑ นำหัวไพล เผาไฟพอสุก (ไม่ใช่ไหม้) ฝนกับน้ำปูนใสแทรกมี้ฝิ่นนิดหน่อย ยาแก้บิดขนานที่ ๒ นำรากพุดป่า ยาวประมาณ ๑ คืน หั่นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำปูนใสประมาณ ๓ ถ้วยชา เคี่ยวจนเหลือ ๑ ถ้วย ทิ้งไว้ให้เย็นจึงรับประทาน ยาแก้บิดขนานที่ ๓ นำน้ำผึ้ง ๒ ช้อน น้ำมะนาว ๑ ช้อน ให้รับประทานวันละ ๒-๓ ครั้ง ยาแก้บิดขนานที่ ๔ นำน้ำผึ้ง หญ้าแรก น้ำบัวบก งา ย่างละ ๑ ช้อน ปนกันให้รับประทานแก้ปวด ยาแก้กษัยกล่อน นำแสลงใจ ใบกลอยป่า เปลือกพระยาสัตบันใบเลื่อน ชุมเห็ดใหญ่ ใบมะคำไก่ รากม่อยหยองแสบทั้ง ๒ ขี้เหล็กทั้ง ๕ ใช้ส่วนผสมเท่า ๆ กัน ต้มดื่มแก้กษัยกล่อนทั้ง ๕ แก้เรี่ยวแรงน้อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ยาแก้กษัยกล่อนขนานที่ ๒ ของพระครูจันโรภาส วัดป่าขอย นำข้าวเย็นเหนือ ๕ บาท ข้าวเย็นใต้หนัก ๕ บาท เปลือกสำโรงหนัก ๓ บาท รากหนอนตายอยากหนัก ๓ บาท กำมะถันเหลืองหนัก ๓ บาท ตาไม้ไผ่ป่า ๓ ตา นำสมุนไพรทั้งหมดรวมกันใส่หม้อต้ม เอาน้ำดื่มแก้โรคกษัยยกล่อน แก้น้ำเหลือเสีย ยาแก้โรคเหน็บชา ฝีในท้องกษัย พริกไทยอ่อน ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท สารส้ม ๑ บาท เกลือสินเธาว์ ๑ บาท ดินประสิว ๒ สลึง นำสมุนไพรมาตำผง ใช้น้ำผึ้งรวงเป็นกระสายหรือสุราโรงก็ได้ รับประทานครั้งละพอสมควรวันละ ๒ เวลา เช้าและเย็น ยาแก้เลือดเน่า เลือดร้าย พริกไทย ๑ ขิง ดีปลี ๑ ผิวมะกูด ๑ การบูร ๑ แก่นแสมสาร ๑ นำสมุนไพรทั้งหมด มาบดละลายเหล้า น้ำร้อน น้ำส้ม น้ำมะนาว แก้สารพัดพิษเลือด ยาแก้โรคสำหรับสตรี มุตกิต ซ่ำรั่ว โคกกระจอม ขมิ้นอ้อย หัวหอม ดินประสิวขาว นำสมุนไพรทั้งหมดมาต้มดื่มน้ำ ยาแก้โรคมุตกิต-มุตมาต ยาข้าวเย็น ๒ บาท หนอนตายอยาก ๒ บาท น้ำอ้อยแดง ๑ งบ นำสมุนไพรมาต้มรับประทานรักษาแผลภายใน (ตัดราก) ยาแก้โรคริดสีดวงงอก (ใช้ประจำ) หัวแห้วหมู ใบกะเพาแดง เกลือ นำสมุนไพรมาบดรับประทานกับน้ำมะนาว ยาแก้โรคท้องร่วง พุงมาร รากเต่ารั้ง ผาลไถนา ๓ ตัว มะกูด ๕ ลูก น้ำมาต้ม ๓ น้ำให้เหลือ ๑ ยาแก้โรคเบาหวาน มะแว้งทั้ง ๕ รากสะเดา รากเพกา นำมาต้มดื่มเป็นน้ำชา โรคตับ (ดีซ่าน) ระฆังแดง เชือกเขาหนัง รากแจง กระต่อมไก่ กำแพงเจ็ดครั้ง ๓ ข้าวเย็นทั้งสอง แก่นแสมสาร นำสมุนไพรทั้งหมดมาต้มรับประทาน อาจารย์สุข พลาวงศ์ ประวัติ เกิดวันเสาร์ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๖ ที่ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี บิดาชื่อขุนวิเศษฯ (เลี้ยง) มารดาชื่อเอม อาจารย์สุขเป็นคนชอบเรียนหนังสือ ได้บวชเป็นเณรศึกษาภาษาไทยและบาลี และได้อุปสมบทเป็นภิกษุจำพรรษาที่วัดเขาสะแกกรัง หรือวัดเขาแก้ว จังหวัดอุทัยธานี และได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ประมาณ ๓-๔ พรรษา หลังจากนั้นมาอยู่วัดเขาแก้ว ที่จังหวัดอุทัยธานี และเป็นอาจารย์สอนหนังสือพระเณรในวัด ลูกศิษย์เรียกว่าอาจารย์เดิม ขณะบวชเป็นภิกษุสนใจทางแพทย์แผนโบราณ ได้สะสมตำรายาดี และศึกษาจากหมอที่มีชื่อเสียงไว้มาก และใช้ความรู้รักษาโรคอัมพาตของพ่อจนหาย พระยารามราชภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้นิมนต์อาจารย์เดิม มาเป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรมแก่เณรที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย หลังจากได้ลาสิกขาบทได้สมรสกับแม่พร้อม ทิพย์ธานี และประกอบอาชีพเป็นหมอแผนโบราณรับรักษาคนไข้ทั่วไป ขายยาแผนโบราณ ความรู้เรื่องการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร ยาดองเหล้า ข่าต้น ๑ ตุมกาแดง ๑ ยาทราย ๑ อุ้มลูกดูหนัง ๑ ขมิ้นเครือ ๑ ผจง ๑ กำลัง ๑ เจตมูลเพลิง ๑ สม้าน ๑ ผักแมวแดง ๑เถาสบ้า ๑ ขิงแห้ง ๑ ลูกจัง ๑ ดอกจัน ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ พริกไทย ๑ ดีปลี ๑ จันทั้งสอง ๑ (หนัก ๑ บาททุกอย่าง) นำสมุนไพรทั้งหมดมาตำให้ละเอียด ห่อผ้าขาวแช่ในเหล้าจนเนื้อยาออกดี แก้โรคกระสาย รับประทานสำหรับคนที่อยู่ไฟไม่ได้ ยาสานิบาด (ภาษาโบราณ) หรือสันนิบาต ๕,๐๐๐ จำพวก พริกไทย ๑ บาท ใบหัศคูณ ๑ บาท เทียนทั้ง ๕ โกฎทั้ง ๕ ลูกสบ้าเผาไฟ ใบคนทีสอ หนักสิ่งละ ๑ บาท มหาหิงค์ ๒ สลึง นำสมุนไพรตำผงบด แล้วทำเป็นเม็ด (นำหญ้ากะเม้งต้มเป็นกระสายรับประทาน) ไข้จับกินทุกชนิด น้ำสม้านต้ม สันนิบาตตัดพิมเสนรับประทาน ลิ้นกระด้างคางแข็ง สม้านต้ม ดีงู ตัด รับประทาน แก้ไข้ ดีปลี พริกไทย ฝนกวาดคอ ยากล่อมกุมาร จันทั้ง ๒ เกษรทั้ง ๕ ข้างเสือ รากสลอด น้ำยอดใบไผ่สีสุกที่ยังไม่คลี่ นำสมุนไพรทั้งหมดมาต้มรับประทาน ยาตัดลมกุมาร จันทั้ง ๒ เกษรทั้ง ๕ โกฐสอ สมุลแว้ง พริกไทย ดีหลี ขิง ต้นพณพาทย์ นำสมุนไพรทั้งหมดมาต้มรับประทาน ยาแก้ไข้จับสั่น ใบสันพร้า หอม ใบผัวคราด ใบดองดึง ใบระงับพิษ ใบผักแมวแดง ใบโคนพิสอ กระเทียม ขิง ใบผักเสี้ยนผี ยาแก้ไข้ตัวร้อนไข้คลั่ง จันหอม ๑ จันเทศ ๑ สน ๑ บอระเพ็ด ๑ ลูกกระออม ๑ สมอไทย ๑ กระชาย ๑ ผักเทศ ๑ นำสุมนไพรมาบดให้ละเอียดแล้วมาปั้นเป็นลุกกลอนเท่าเมล็ดฝ้าย ละลายน้ำร้อน ยาชะโลมแก้ตัวร้อนของเด็กและผู้ใหญ่ ดินสอพอง ๑ ใบน้ำเต้า ๑ เถาตำลึงตัวผู้ ๑ เถาฝักข้าว ๑ ดินประสิว ๑ หยิบมือ นำสุมนไพรทุกอย่างยกเว้นดินประสิวมาตำผงทำแท่งไว้ เวลาใช้ให้ผสมดินประสิวลงในน้ำใช้ทาตามตัวคนไข้ นายณรงค์ มาคง ประวัติ เกิดวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลวังลึก อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย บิดาชื่อ นายกลับ มารดาชื่อ นางทิ้ง มาคง จบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ อาชีพทำนา-ทำไร่ เมื่ออายุ ๑๔ ปี นายณรงค์ มาคง เป็นโรคสมองคร่อ มีน้ำมูกออกตลอดเวลา ปวดศีรษะ บิดาของนายณรงค์ มาคง จึงปรุงยาให้รับประทาน อยู่ประมาณ ๒ อาทิตย์ โรคนั้นก็หายขาด นายณรงค์ เป็นแพทย์ประจำตำบล พักอยู่บ้านเลขที่ ๓๓๑/๕ หมู่ที่ ๔ ตำบลปากแคว อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ความรู้เรื่องการักษาโรคด้วยสุมนไพร ยาแก้สมองคร่อ ลูกพิรังกาสาแห้งหนัก ๒ บาท ลูกสลอดโดยฆ่าด้วยเถาพลูใส่หม้อต้มก่อน จนเถาพลูยุ่ย หนัก ๔ บาท รากมูกดงหนัก ๑ บาท มูกหลวงทั้งรากทั้งเปลือกหนัก ๔ บาท นำสมุนไพรทั้ง ๔ อย่าง ตำผงละลายน้ำผึ้ง เวลารับประทานปั้นเป็นเม็ดเท่าเมล็ดพุทธรักษา รับประทานวันละ ๑-๓ ครั้ง หลังอาหาร แก้ลมทั้งปวง แก้พยาธิ ๘ จำพวก ริดสีดวง ๑๖ จำพวก นิ่ว ริดสีดวงสมองคร่อ สตรีไม่มีบุตร รับประทานยานี้เสมอจะมีบุตรได้ เสียงจะดี ปัญญาดี ยาแก้ลม เป็นยาแก้ลมทั้งปวง คงอาวุธ และมีอายุยืน ค้นพบในตำราสมัยเก่าซึ่งจารไว้ด้วยภาษาขอม-ไทย เป็นยาของฤาษี ๒ พี่น้อง พริกไทย ใบสลอด หนักอย่าละ ๔ บาท ใบมะตูม เปลือกมูกหลวง หนักอย่างละ ๓ บาท รากผักแพราวแดงหนัก ๑ บาท บอระเพ็ดหนัก ๓ บาท ขิงแห้ง ดีปลี พิรังกาสา หนักอย่างละ ๒ บาท นำสมุนไพรมาตำผงละลายน้ำผึ้งรับประทาน เสกด้วยพระคาถา โอมอมรนิชีวันติเวสวาหาย เสก ๒ หรือ ๗ ครั้ง รับประทานครั้งละเท่าเมล็ดฝ้าย วันละ ๑-๓ เม็ด หลังอาหาร ขิงแห้ง เป็นขิงชนิดหนึ่งมีกลิ่นเบา แต่รสหวานกว่าขิงธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารและชงดื่ม ยาแก้เหน็บชามะตูมอ่อน กล้วยน้ำว้าสุก พริกไทย เหงือกปลาหมอ หัวแห้วหมู น้ำผึ้ง มะตูมอ่อน ๑ ผล หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ กล้วยสุก ๑ หวี ปอกเปลือกออกทิ้ง หั่นเนื้อกล้วยให้เป็นแว่น ๆ พริกไทยห่อผ้าขาวขนาดเท่าลูกมะตูม ผงแห้วหมู และเหงือกปลาหมอที่บดแล้ว อย่างละ ๑ กระป๋อง นำมะตูมอ่อน กล้วยสุก พริกไทย นึ่งให้มะตูมและกล้วยสุก นำลงมาคลีกาน คือใส่ครกโขลก หรือใส่เครื่องบดให้เข้ากัน รวมทั้งตัวยาทั้ง ๕ อย่าง เมื่อยาเข้ากันดีแล้ว ให้นำยาที่ผสมนั้นตากแดดให้แห้ง อย่างน้อยตากให้ได้ ๓ แดด หรือจนแห้งกรอบ นำตัวยาที่ทำเป็นแผ่นบาง ๆ ตากแห้งแล้วมาบดหรือทำให้เป็นผง แล้วกรองด้วยผ้ามุ้ง แล้วนำผงยาที่กรองแล้วตากแดดให้แห้งสนิท บรรจุไว้ในขวดหรือโหล เมื่อรับประทานให้แบ่งออกมาผสมน้ำผึ้งรับประทาน วันละ ๑-๓ ครั้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานยาหลังอาหารอย่างน้อยประมาณ ๑๕-๓๐ นาที จะมีภูมิต้านทานไข้หวัดและมีกำลังดี ยาลงหม้อ แก่นลั่นหนัก ๕ ตำลึง ใบมะกาหนัก ๕ ตำลึง ขมิ้นอ้อย ๕ แว่น พร้อมด้วยเกลือเค็ม ๆ นำใส่หม้อแทนน้ำธรรมดา เขียนยันต์ตรีสิงเหบนใบตองแล้วปิดปากหม้อ ส่วนขมิ้นอ้อยลงด้วยพระเจ้า ๕ พระองค์ สรรพคุณ แก้ลมเพลมพัด ฟกช้ำบวมต่าง ๆ หมอบุญธรรม พัฒนเจริญ ประวัติ เกิดวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๗๓ เป็นบุตรนายชื้น นางต่าย พัฒนเจิรญ ที่ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ยาแก้ธาตุทั้ง ๔ กำเริบรากชะพลูหนัก ๕ บาท ลูกกระวานหนัก ๕ บาท ใบกระวานหนัก ๕ บาท พริกไทยหนัก ๕ บาท ขิงแห้งหนัก ๕ บาท ดีปลีหนัก ๕ บาท มหาหิงค์หนัก ๕ บาท สมุลแว้งหนัก ๓๕ บาท นำสมุนไพรมาบดเป็นผง รับประทานได้ทุกเวลา ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ หรือ ๑ กรัม แก้ธาตุทั้ง ๔ กำเริบ ให้โลหิตเสียบวมทั้งตัว ละลายน้ำขิง หรือน้ำข่าที่ต้มหรือกระเทียมกับยารับประทานแล้วหาย