ประวัติอำเภอศรีสัชนาลัย ที่ราบลุ่มริมแร่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรีเขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี เขาพนมเพลิง เป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำ และภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ ไม่เฉพาะทำเลดีเท่านั้น แต่ความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมดยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้มีชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้ตลอดมา มีหลักฐานเอกสารโบราณของไทยและจีนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ได้กล่าวถึงเมืองโบราณแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างบริเวณแถบเมืองสุโขทัย โดยเอกสารจีนโบราณราชวงศ์ซุงเรียกว่าเมืองเฉิงเหลียง พงศาวดารโบราณเรียกว่า แดนเฉลียง ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตยืจะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีเหตุการณ์ที่ปรากฏในศิลาจารึกตำนานและพงศาวดารยืนยันว่าปรากฏมีเมืองโบราณ ๒ เมืองในลุ่มแม่น้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียง พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง กับเมืองเชลียง พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง เคยเป็นเจ้าเมืองเชลียงก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นประชนม์ ขอมสบาด โขลญลำพงใช้กำลังยึดทั้งเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนผมเอง โอรสพ่อขุนศรีนามนำถมร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ยึดเมืองทั้งสองกลับมาได้จนในที่สุดพ่อขุนบางกลางหาวได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองสุโขทัย โดยมีพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ส่งพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยแล้วพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่าเมืองลูกหลวง เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองบูกหลวงของสุโขทัยต่อมาอีกหลายชั่วกษัตรยิ์แม้เมืองกรุงสุดขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้น ๆ ของการเสียอิสรภาพเชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์ แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติปกครองดูแลเมืองศรีสัชนาลัยอยุ่ตามเดิม จนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมืองนี้กลายเป็นสมรภูมิการรบครั้งสำคัญ และเป็นเมืองรับศึกระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยาและพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ชัยชนะของอยุธยาในศึกครั้งนั้นก่อให้เกิดวรรณคดีลืมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นชิ้นเยี่ยมของวรรณคดีคือ ลิลิตยวนพ่าย ผลอันสำคัญหลังศึกยวนพ่ายคือเมืองศรีสัชนาลัย ตกอยู่ในการควบคุมของอยุธยาอย่างจริงจัง ชนกลุ่มแรกที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มแตกของการก่อตั้งอำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน จากตำนานคงถือได้ว่าเป็นชนชาวบ้านตึกในปัจจุบันนี้เอง ซึ่งจากตำนานได้กล่าวไว้ว่าเมืองครั้งอดีตมีชายแก่คนหนึ่งได้เดินทางเข้ามรถึงบ้านแห่งนี้ (บ้านตึกในปัจจุบัน) เมื่อครั้งหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีชื่อบ้าน โดยมุ่งหน้าจะไปตั้งหลักฐานทำมาหากินใจท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ พอถึงหมู่บ้านแห่งนี้แล้วก็คิดว่าคงเดินทางต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะมีภูเขาล้อมรอบกั้นขวางอยู่ข้างหน้าอีกด้วย กอร์ปกับในเวลานั้นมีฝนตกชุกมาก จึงได้เอ่ยขึ้นว่า ที่นี่ตึ๊กแล้ว ฝนก็ตึ๊กอย่างอื่นก็คงตึ๊กด้วย และจึงหยุดเดินทางต่อไปและได้ตั้งหลักฐานมั่นคงอยู่ที่บ้านแห่งนี้และต่อมาชาวบ้านแห่งนี้จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านตึ๊ก" ซึ่งต่อมาได้เรียกเพี้ยนมาเป็น "บ้านตึก" ในที่สุด (คำว่า "ตึ๊ก" คงมีความหมายว่า สิ้นสุดแล้ว เช่นอร่อยที่สุด ไกลที่สุด ดีที่สุด ฯลฯ ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านตึ๊กในที่สุดจนใช้อยู่จนปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ บ้านตึกได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่บ้านปลายนา (หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่ออำเภอด้ง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันประมาณ ๑๒ กิโลเมตร สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า "อำเภอด้ง" เนื่องจากบริเวณที่ตั้งอำเภอเป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรุปวงกลม คล้ายรูปกระด้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า อำเภอด้ง ชื่อตั้งอยู่ได้นานถึง ๑๒ ปี โดยมี นายอำเภอ ๒ คน คือ คนที่ ๑ ชื่อพระเมืองด้ง คนที่ ๒ ชื่อหมื่นด้งนคร แต่ประชาชนนิยมเรียกนายอำเภอว่า เจ้าพ่อเมืองด้นหรือเจ้าปู่เมืองด้ง ต่อมาเมื่อนายอำเภอคนที่ ๓ ชื่อขุนศรีทิพบาลมารักตำแห่งใหม่ได้พิจารณาเห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก เพราะในสมัยนั้นต้องใช้ลำนี้เป็นเส้นทางติดต่อคมนาคมกันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านป่างิ้ว ฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำยม (ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย) และยังคงใช้ชื่ออำเภอว่า "อำเภอด้ง" เหมือนเดิมตั้งอยู่ได้นานประมาณ ๕ ปี เมื่อขุนศรีทิพบาลเกษียณอายุราชการและนายอำเภอคนใหม่ยังไม่มาเข้ารับตำแหน่งนั้น ผู้ร้ายได้เข้าปล้นที่ว่าการอำเภอด้ง และได้เผาที่ว่าการอำเภอด้งด้วย และต่อมานายอำเภอคนที่ ๔ คือ พระยาพิศาลภูเบท หรือพระยาพิศาลคีรี มารับตำแหน่งใหม่จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอลงมาตั้งที่บ้านหาดเซียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๘ และยังใช้ชื่อว่า "อำเภอด้ง" เหมือนเดิม ซึ่งหมู่บ้านหากเซียวนี้เดิมชื่ออะไรไม่ปรากฏ แต่มีหลักฐานเป็นที่น่าเชื่อถือว่า ในสมัยนั้นพระธิดาสาวเจ้าเมืองเชียงรายเสด็จจากเชียงรายมาลงเรือมาก (เรือชุดแบบพื้นเมืองขนาดใหญ่ ๔ แจว) ที่เมืองแพร่เสด็จตามลำน้ำยมลงมาเพื่อไปเยี่ยมพระสหาย คือพระธิดา เจ้าเมืองตาก ผ่านมาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ (บ้านหาดเซี้ยว) บังเอิญเรือรั่วจึงแวะจอดยาเรือที่หมู่บ้านแห่งนี้ ประกอบกับแม่น้ำในช่วงนั้นได้ไหลเป็น ๒ สาย โดยมีเกาะกลางน้ำเป็นสาดทรายอยู่ตรงกลางระหว่างแม่น้ำที่แยกไหลเป็น ๒ สาย และบริเวณหาดทรายนั้นเองมีต้นส้นเสี้ยวเกิดขึ้นมากมาย เมื่อพระธิดาสาวเจ้าเมืองเชียงรายกำลังรอให้ลูกเรือยาเรือที่รั่วอยู่ และมีเวลาว่าง จึงเสด็จขึ้นไปชมการทอผ้า การตีเหล็กที่หมู่บ้านแห่งนี้และได้สอบถามชาวบ้านแห่งนี้ชื่อว่าบ้านอะไร ปรากฏว่าไม่มีใครทราบ เพราะชาวบ้านแห่งนี้ไม่เคยเรียกชื่อบ้านของตนเองเลยพระธิดาจึงทรงแนะนำให้หัวหน้าหมู่บ้านตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหาดเซี่ยว" เป็นสำเนียงของชาวเหนือ ซึ่งเปลว่า น้ำไหลแรง ด้วยเหตุดังกล่าวหมู่บ้านแห่งนี้จึงได้เชื่อว่าบ้านหากเซี่ยวมาตลอดจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จที่วัดโพธิ์ไทย (วัดหาดเสี้ยวปัจจุบัน) ได้ทรงพิจารณาเห็นว่าอักษร ซ ไม่เหมาะสม เพราะขัดต่อหู เวลาฟังชาวบ้านพูดประกอบกับแม่น้ำได้แยกเป็น ๒ สาย (กระแก) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าผ่าเสี้ยว จึงโปรดรัดสั่งให้เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านเสียงซึ่งต่อมาข้าราชการและประชานชนได้พร้อมในการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านหากเซี่ยวเป็นบ้าน "หาดเสี้ยว" และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอด้งเป็น "อำเภอหาดเสี้ยง" และยังเปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์ไทร เป็น "วัดหาดเสี้ยว" ในปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์ทองเป็นวัดหาดสูง ฯลฯ หลักฐานคำไทยพวน จากราษฎรไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวที่มาชุมนุมต้อนรับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรศที่เสด็จมาที่วัดโพธิ์ไทรในครั้งนี้มีตอนหนึ่งกล่าวว่า "ฝูงชนรำฟ้อนไปต้อนเสด็จฯ พาเข้ามาวัดโพธิ์ไทย อำเภอหาดเซี่ยว แม่น้ำหาดเสี้ยว ๒ ตอน คนสะล้อนพา ไปแห่สมเด็จฯ เพิ่นสังวาจีเห้อ ถึกแท้ชื่อบ้านแก้เป็น สอ เสือ ซอ โซ่ ชอ ช้าง เอาไว้หั้น จำให้มันซ่อยกันแต่แปลงแล้วแถลงหือถี่ตาม ฮีต ซ้อยกันคิดแล้วแต่งตามคอม จึงพอกันฮ้องชื่อบ้านหาดเสี้ยว ยาได้คดเคี้ยวจำสืบต่อกันไป" หลังจากได้ย้ายที่ว่าการอำเภอด้งมาอยู่ที่หมู่บ้านหาดเสี้ยว (บ้านหาดเซี่ยว) แล้วต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น "อำเภอหาดเสี้ยว" ตามที่กล่าวมาข้างต้นจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารราเห็นว่า ควรจะนำปูชนียสถาน หรือสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งเป็นชื่ออำเภอ/จังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยวใหม่เป็น "อำเภอศรีสัชนาลัย" เพราะเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คู่กับเมืองเช่ลี้ยง ซึ่งปัจจุบันนี้เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่าเมืองเก่า คำว่าศรีสัชนาลัยเดิมเขียนมีตัว ช. ๒ ตัว จนถึงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๐ สมัยรัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร คณะราชบัณฑิตยสถาน ได้นำเอาชื่ออำเภอ/จังหวัดต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาให้เข้ากับอักษรโรมัน ซึ่งอำเภอศรีสัชนาลัย ในสมัยนั้นก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยโดยให้ตัดตัว ช. ออก ๑ ตัว จึงเขียนเป็น "ศรีสัชนาลัย" ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานิเบกษาฉบับพิเศษ หน้า ๒ เล่นที่ ๘๔ ตอนที่ ๕๖ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๐ และได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้